หลอด Tube แต่ละสีใช้งานต่างกันยังไง

Last updated: 16 พ.ค. 2566  |  74703 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลอด Tube แต่ละสีใช้งานต่างกันยังไง

สีแดง : หลอด Serum Clot Activator หลอดจุกสีแดง

สารที่อยู่ข้างในนั้นไม่ใช่สารกันเลือดแข็ง (Anti-coagulant) แต่จะเป็นตัวกระตุ้น หรือ  activator  ที่ทำให้เลือดเกิดการแข็งตัวได้เร็วยิ่งขึ้น


สีเขียว : หลอด Lithium heparin หลอดจุกสีเขียว

ใช้สารกันเลือดแข็งที่มีชื่อว่า heparin ซึ่งมีคุณสมับติในการยับยั้งการทำงาน thrombinIII หรือ anti-thrombinIII (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดตัวหนึ่ง)ใช้สำหรับเก็บซีรั่ม เพื่อส่งตรวจทางเคมีคลินิก

สีม่วง : หลอด EDTA K2 หลอดจุกสีม่วง

เป็นสารกันเลือดแข็งชนิด EDTA ที่มีคุณสมบัติไปจับกับแคลเซียมเอาไว้ ซึ่งแคลเซียมจำเป็น สำหรับกระบวนการแข็งตัวของเลือด ใช้สำหรับการเก็บเลือด เพื่อส่งตรวจทางโลหิตวิทยา หรือ การตรวจวินิจฉัยในระดับโมเลกุล เพราะ EDTA จะคงรักษาสภาพของเม็ดได้ดี รูปร่างของเม็ดเลือดจึงยังเหมือนเดิมมากที่สุด



สีฟ้า : หลอด Coagulation หลอดจุกสีฟ้า (3.2% Sodium Citrate)

สารกันเลือดแข็งที่ใช้คือ SODIUM CITRATE ที่จะไปจับกับแคลเซียมเช่นเดียวกับ EDTA แต่ไม่กระตุ้นการทำงานของเกร็ดเลือดซึ่งมีหน้าที่สำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือด



สีเทา : หลอด Sodium fluoride (NaF) หลอดจุกสีเทา

NaF : เป็นสารเพื่อป้องกันการใช้น้ำตาล (Anti glycolysis) ของเม็ดเลือดเหมาะสำหรับการตรวจวิเคราะห์ เช่น FBS, Blood alcohol



อ้างอิง

https://www.vetanymall.com/blood-tube

https://allied.tu.ac.th/hcsc/mt/how-to-collect

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้